ผนัง ลอนลึกสี่เหลี่ยม
ผนัง ลอนลึกสี่เหลี่ยม
ผนัง ลอนลึกสี่เหลี่ยม เป็นการรีดแผ่นเมทัลชีทคล้ายลอนลูกฟูก ใช้งานเป็นแผ่นลอนฝ้า และลอนผนังเหล็ก รูปลอนเป็นลอนลึก มีความทันสมัยดูสวยสะดุดตา สามารถติดตั้งฝ้าเพดาน แผงกั้นห้อง ประตูโรงงาน หรือแผ่นผนัง เหมาะกับงานทั้งงานภายใน และภายนอกอาคาร ความสูงสันลอน 15-25 มม. ความกว้างรวมประกบแล้ว 150-620 มม.
1. แผ่นลอนฝ้า และลอนผนังเหล็ก ความสูงสันลอน 15-25 มม. ความกว้างรวมประกบแล้ว 150-620 มม. รูปลอนเป็นลอนลึก มีความทันสมัยดูสวยสะดุดตา คล้ายลอนลูกฟูกสามารถติดตั้งฝ้าเพดาน แผงกั้นห้อง ประตูโรงงาน หรือแผ่นผนัง เหมาะกับงานทั้งงานภายใน และภายนอกอาคาร
2. รูปลอน ST-25-620PN มีสันลอนเป็นลักษณะเหลี่ยมยาวตลอดแนว จึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงของตัวแผ่นได้ดี
3. การติดตั้งควรตรวจเช็คให้แนวแปได้ระดับระยะห่างโครงเคร่าที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นเมทัลชีท
4. สามารถต่อแผ่นได้โดยรอยต่อเรียบดูสวยงาม แนบสนิทกัน และติดตั้งสะดวกรวดเร็ว
5. ระบบติดตั้งเป็นแบบยิงสกรู (BOLT TYPE) ใช้สกรูยึด ขนาด 48 มม. และ 16 มม. สำหรับแปเหล็ก
เมทัลชีท คืออะไร?
เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีทคือสามารถสั่งผลิตตามขนาดความยาวของหลังคาได้ จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทมีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด การนำมาใช้ร่วมกับบ้านจึงจำเป็นต้องกำหนดสเปคให้เหมาะสมแต่ละส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งานที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย
1. ความหนาของเมทัลชีท มีผลกับคุณภาพ
แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่มีขายในประเทศไทย จะมีความหนาประมาณ 0.28 – 0.5 mm โดยประมาณ ซึ่งความหนาจะมีผลกับความแข็งแรง ยิ่งหนา ยิ่งดี แต่ไม่ควรใช้หนาเกินความจำเป็น เพราะช่างและผู้รับเหมาจะไม่สามารถหาสินค้าได้และทำงานลำบาก เพราะแผ่นเมทัลชีทที่มีความหนาจะป้องกันการบุบยุบตัวได้มากกว่าแผ่นบาง และป้องกันเสียงจากฝนตกจะเสียงทุ้มกว่าแผ่นบางครับ โดยความหนาที่แนะนำสำหรับหลังคาหลักของบ้าน ควรหนาประมาณ 0.35 mm ขึ้นไป แต่หากเป็นสเปคที่สถาปนิกนิยมเลือกใช้ร่วมกับบ้านที่เน้นการออกแบบเป็นพิเศษ จะเลือกความหนาที่ 0.47 mm ขึ้นไปครับ
ส่วนจุดอื่น ๆ เช่น หลังคาซักล้าง หลังคาครัวไทย หลังคาโรงจอดรถ เป็นส่วนที่ไม่มีผลกระทบกับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากนัก อาจเลือกรุ่นที่มีความหนา 0.3 mm ขึ้นไปเพื่อการลดต้นทุนได้ครับ ทั้งนี้ ความหนาของเมทัลชีทจะมีผลกับระยะแปหลังคา ยิ่งหนามากจะสามารถจัดวางแปในระยะห่างที่มากขึ้นได้ ช่างจึงควรตรวจเช็คความหนาของแผ่นเมทัลชีทให้มีความสัมพันธ์กับระยะแปหลังคา
2. เมทัลชีทเคลือบสี ช่วยให้บ้านเย็น ลดเสียงรบกวน
แผ่นเมทัลชีทที่ยังไม่ผ่านการเคลือบสีจะมีราคาถูกกว่า เหมาะกับการใช้งานอเนกประสงค์ อาทิ รั้วกั้นพื้นที่, หลังคาส่วนต่อเติม แต่หากนำมาใช้ร่วมกับหลังคาหลักของบ้าน แนะนำให้ควรเลือกชนิดที่ผ่านการเคลือบสีแล้ว เพราะสีที่เคลือบไม่ได้ช่วยแค่เรื่องความสวยงามแต่ยังเป็นแผ่นกันความร้อนหลังคาได้ดี โดยนวัตกรรมสียุคปัจจุบันมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ส่งผลให้ปริมาณความร้อนที่ทะลุผ่านหลังคาเมทัลชีทลดลงอย่างเห็นได้ชัดทำให้อุณหภูมิของบ้านเย็นกว่า สามารถประหยัดไฟจากเครื่องปรับอากาศได้
3. ฉนวนกันความร้อน เพื่อนแท้ของเมทัลชีท
ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการใช้เมทัลชีท คือ การติดตั้งเมทัลชีทโดยมีฉนวนกันความร้อน เพราะจะช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านได้ดีขึ้น ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกทั้งแบบสำเร็จรูปติดตั้งมาให้พร้อมกับแผ่นเมทัลชีท, แบบพ่นโฟม PU, แบบแผ่นวางใต้ฝ้าเพดาน หรือจะเลือกทำหลายอย่างพร้อมกันก็สามารถทำได้ครับ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่เพียงแค่ช่วยให้การอยู่อาศัยเย็นสบายขึ้น แต่ตัวฉนวนยังทำหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวนได้ดีอีกด้วย ลดทั้งความร้อน ลดทั้งเสียงรบกวน คุ้มยิ่งกว่าคุ้มครับ
ผู้เขียนไม่ขอฟันธงว่า ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนในรูปแบบไหนดีกว่ากัน เพราะแต่ละแบบอาจขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งเกรดวัสดุ คุณภาพ ราคา แต่ขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อตามค่าคุณสมบัติต่าง ๆ 2 ตัวหลัก ที่จะมีระบุไว้ชัดเจน โดยให้จำไว้ง่าย ๆ ว่า ค่า R ยิ่งมากยิ่งดี ค่า K ยิ่งน้อยยิ่งดี
วิธีการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนกับเมทัลชีทตามค่าคุณสมบัติ
- ค่า R (Resistivity): ค่าความต้านทานความร้อนของฉนวน ยิ่งต้านทานได้มากจะยิ่งดี นั่นหมายถึง ยิ่งตัวเลขมาก ยิ่งดีครับ
- ค่า K (K-value): ค่านำความร้อน ยิ่งนำความร้อนไดี ยิ่งส่งผลให้บ้านร้อนมาก เพราะฉะนั้นค่า K ควรมีน้อย ๆ ยิ่งตัวเลขน้อย ยิ่งดี
แผ่นฉนวนที่ติดมากับเมทัลชีทเดิมหลุด ทำอย่างไร
ปัญหาแผ่นฉนวนโฟม PU ที่ติดมาพร้อมกับเมทัลชีทหลุดมักเกิดขึ้นกับแผ่นเมทัลชีทด้อยคุณภาพ แต่หากเป็นแผ่น metal sheet คุณภาพสูงจะไม่ค่อยพบเจอปัญหานี้ โดยสาเหตุหลัก ๆ เกิดขึ้นจากกาวที่ติดฉนวนเสื่อมการใช้งาน หากเริ่มหลุดล่อนไม่มากนัก สามารถซื้อกาวที่ใช้สำหรับติดฉนวน PU มาซ่อมแซมได้ครับ หลังจากซ่อมแซมแล้วอาจติดตั้งแผ่นฝ้าไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หลุดมากกว่าเดิม
แต่หากการหลุดล่อนเกิดขึ้นมาก จนยากที่จะใช้ของเดิมได้ ให้ทำการกำจัดฉนวนเดิมออกให้หมด และใช้ฉนวนกันร้อนแบบฉีดพ่นแทน การฉีดพ่นจะยึดติดได้ดีกว่าแบบติดกาวมากครับ
4. หลังคาสูงโปร่ง มีฝ้าเพดาน
ตามหลักการถ่ายเทความร้อน มวลความร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงเสมอ หลักการนี้สถาปนิกนำมาใช้ร่วมกับการออกแบบบ้านครับ หากบ้านของเรามีพื้นที่โถงหลังคามากก็จะช่วยกันความร้อนได้มาก โดยออกแบบให้ภายในบ้านมีฝ้าเพดาน เพื่อให้ใต้หลังคามีพื้นที่ระบายอากาศ ฝ้าหลังคาจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันร้อนและกันเสียงได้อีกชั้น หากให้ดียิ่งขึ้นควรมีช่องระบายอากาศเพื่อส่งความร้อนที่สะสมบนฝ้าถ่ายเทออกนอกบ้าน ป้องกันการนำความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านครับ
การนำเมทัลชีทมาใช้งานร่วมกับบ้าน ส่วนใหญ่จะคุ้นตากันในลักษณะหลังคาแบน หลังคาเพิงหมาแหงน แต่ในความเป็นจริงแล้วเมทัลชีทสามารถใช้งานร่วมกับรูปทรงหลังคาได้ทุกประเภท ทั้งจั่ว ปั้นหยา หลังคาโค้ง และอื่น ๆ ตามจินตนาการของผู้ออกแบบ ยิ่งออกแบบให้มีหลังคาสูงโปร่ง จะช่วยให้การระบายอากาศทำได้ดียิ่งขึ้น