Category Archives: ตำบลบางนา
ตำบลบางนา
ตำบลบางนา เป็นตำบลหนึ่งใน 12 ตำบล ใน อำเภอมหาราช เป็นอำเภอหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอนครใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “มหาราช”[1] ดังเช่นปัจจุบัน
ลอนผนังบ้าน พียู โฟม (House Wall Panel PU Foam) อำเภอมหาราช
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอมหาราชมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านแพรก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอดอนพุด (จังหวัดสระบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางปะหันและอำเภอป่าโมก (จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองอ่างทองและอำเภอไชโย (จังหวัดอ่างทอง)
ประวัติ[แก้]
อำเภอมหาราชเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมัยเดิมการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นการปกครองรูปแบบของ “แขวง” เรียกว่า “แขวงนครใหญ่” ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้มีพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ขึ้น จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองรูปแบบของแขวงมาเป็นอำเภอ เรียกว่า “อำเภอนครใหญ่” ตามชื่อแขวงเดิม โดยให้ขึ้นการปกครองกับแขวงเมืองกรุงเก่า มณฑลอยุธยา โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 16 ตำบล และในปี พ.ศ. 2460 กระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากชื่อตำบลของอำเภอในตำบลเขตท้องที่อำเภอนครใหญ่นี้ตำบลหนึ่งมีชื่อว่า “ตำบลมหาราช” ดังนั้น จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอนครใหญ่ มาเป็น “อำเภอมหาราช”[1] และใช้เรียกกันมาถึงปัจจุบันนี้
- วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2481 ได้แยกพื้นที่ตำบลบ้านแพรก ตำบลคลองน้อย ตำบลโพลาว และตำบลสำพะเนียง จากอำเภอมหาราช ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านแพรก ขึ้นกับอำเภอมหาราช[2]
- วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโพลาว กิ่งอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช เป็น ตำบลบ้านโพ และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบางมอญ อำเภอมหาราช เป็น ตำบลบางนา[3]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลหัวไผ่ ตั้งตำบลบ้านขวาง แยกออกจากตำบลท่าตอ ตั้งตำบลโรงช้าง แยกออกจากตำบลพิตเพียน ตั้งตำบลเจ้าปลุก แยกออกจากตำบลมหาราช และตำบลน้ำเต้า ตั้งตำบลกะทุ่ม แยกออกจากตำบลมหาราช และตำบลบางนา[4]
- วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลมหาราช ในท้องที่บางส่วนของตำบลมหาราช และตำบลหัวไผ่[5]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแพรก ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านแพรก[6]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้อย ในท้องที่ตำบลคลองน้อย กิ่งอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช[7]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2502 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช เป็น อำเภอบ้านแพรก[8]
- วันที่ 13 ตุลาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลโรงช้าง ในท้องที่บางส่วนของตำบลเจ้าปลุก ตำบลโรงช้าง และตำบลพิตเพียน[9]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลมหาราช และสุขาภิบาลโรงช้าง เป็นเทศบาลตำบลมหาราช และเทศบาลตำบลโรงช้าง ตามลำดับ
- วันที่ 24 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลกะทุ่ม รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางนา[10] ยุบสภาตำบลโรงช้าง สภาตำบลพิตเพียน และสภาตำบลน้ำเต้า รวมกับเทศบาลตำบลโรงช้าง[11] ยุบสภาตำบลหัวไผ่ และสภาตำบลมหาราช รวมกับเทศบาลตำบลมหาราช[12]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอมหาราชแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 58 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | หัวไผ่ | (Hua Phai) | 6 หมู่บ้าน | 7. | เจ้าปลุก | (Chao Pluk) | 5 หมู่บ้าน | |||||||||
2. | กะทุ่ม | (Kathum) | 5 หมู่บ้าน | 8. | พิตเพียน | (Phitphian) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||
3. | มหาราช | (Maha Rat) | 4 หมู่บ้าน | 9. | บ้านนา | (Ban Na) | 6 หมู่บ้าน | |||||||||
4. | น้ำเต้า | (Namtao) | 4 หมู่บ้าน | 10. | บ้านขวาง | (Ban Khwang) | 4 หมู่บ้าน | |||||||||
5. | บางนา | (Bang Na) | 5 หมู่บ้าน | 11. | ท่าตอ | (Tha To) | 4 หมู่บ้าน | |||||||||
6. | โรงช้าง | (Rong Chang) | 4 หมู่บ้าน | 12. | บ้านใหม่ | (Ban Mai) | 4 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอมหาราชประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลมหาราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไผ่และตำบลมหาราชทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเต้า ตำบลโรงช้าง ตำบลเจ้าปลุก และตำบลพิตเพียนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะทุ่มและตำบลบางนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านขวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าตอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่มหาราช[13] ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
สถานศึกษา[แก้]
- วิทยาลัยการอาชีพมหาราช สถาบันอาชีวศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอมหาราช
- โรงเรียนมหาราชประชานิมิต สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นโรงเรียนประจำอำเภอมหาราช
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- พุทธอุทยานมหาราช หลวงปู่ทวด ตั้งอยู่ที่ถนนสายเอเชีย บริเวณหลัก ก.ม.ที่ 44 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนเนื้อที่กว้างขวางกว่า 200 ไร่ที่แต่เดิมในอดีต พื้นที่บริเวณนี้เป็นเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อ “พุทธอุทยานมหาราช” ภายในบริเวณได้สร้างรูปเหมือนของพระสงฆ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
- พระตำหนักเจ้าปลุก (วัดหน้าวัว) ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง หมู่ที่ 4 ตำบลเจ้าปลุก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากประวัติวัดนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยต้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอาจจะพร้อม ๆ กับที่โปรดให้ปฏิสังขรณ์เมืองลพบุรีเป็นราชธานีสำรองโดยสร้างเป็นพระตำหนักประทับร้อนระหว่างทางจากพระนครศรีอยุธยากับลพบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี
- วัดท่าตอ สักการะหลวงพ่อสังวาลย์มงคล เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง ๑.๖๕ เมตรมีลักษณะงดงามได้สัดส่วนด้วยศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา อายุประมาณ ๓๐๐ ปีเศษ จากตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อลอยน้ำมาโผล่ขึ้นที่หน้าวัดท่าตอ
- วัดประดู่ตะบอง มีโบราณสถานที่เก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น
แพนเนล พียูโฟม บางนา แพนเนล พียูโฟม บางนา (Panel PU Foa […]