Category Archives: ตำบลบึงทองหลาง
ตำบลบึงทองหลาง
ตำบลบึงทองหลาง is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
ตำบลบึงทองหลาง เป็นตำบลหนึ่งใน 8 ตำบล ของอำเภอลำลูกกา
ลำลูกกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอลำลูกกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอธัญบุรี มีแนวเส้นขนานคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปทางทิศใต้ 1.6 กิโลเมตรเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ (จังหวัดนครนายก) และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองสิบสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม และเขตดอนเมือง (กรุงเทพมหานคร) มีแนวคันนาระหว่างจังหวัดปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร คลองพระยาสุเรนทร์ คลองหกวาสายล่าง คลองสอง แนวรั้วหมู่บ้านการ์เด้นโฮมวิลเลจ แนวรั้วอนุสรณ์สถานแห่งชาติ แนวเส้นตรงผ่านแนวรั้วโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร แนวรั้วหมู่บ้านวังทอง และแนวรั้วบริษัทดอนเมืองพัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานี มีคลองเปรมประชากร ถนนลูกรัง และทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอลำลูกกาสมัยก่อนเป็นที่ราบลุ่มเต็มไปด้วยป่าพงป่าอ้อ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วไป สภาพของพื้นที่เป็นที่รกร้างกว้างใหญ่ มีชื่อเรียกว่า “ทุ่งหลวง” ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ประมาณปี พ.ศ. 2433 พระองค์ทรงเห็นว่าทุ่งหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก ควรให้ประชาชนเข้ามาอยู่เป็นที่พักอาศัยทำมาหากิน ประกอบกับมีพระราชดำริว่า กรุงสยาม คลองเป็นสำคัญ สมควรต้องขุดทุกปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ดำเนินการขุดคลองหกวา เริ่มจากคลองซอยที่ 2 ไปจนถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะทาง 900 เส้นเศษ และขุดคลองซอยที่เป็นระยะห่างกัน 60 เส้น จำนวน 16 คลอง ผลจากการขุดคลองนี้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นกันดารต่างอพยพหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่และทำการปลูกมากยิ่งขึ้น
สำหรับชื่ออำเภอลำลูกกานี้ตามประวัติบอกว่า แต่เดิมนั้นในท้องที่อำเภอนี้มีลำธารไหลผ่านมาบรรจบเป็นรูปตีนกา และปรากฏว่ามีนกมาอาศัยทำรังอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะที่รวมของลำธารนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง ปลา อาหารของสัตว์นานาชนิด ประชาชนจึงเรียนบึงนี้ว่า “บึงลำลูกกา” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นใกล้กับบึงนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2447 จึงขนานนามว่า อำเภอลำลูกกา สันนิษฐานว่าเป็นเพราะนิยมใช้คำสั้น ๆ
ส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ถึง ปัจจุบัน
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลลำลูกกา ในท้องที่บางส่วนของตำบลลำลูกกา และ ตำบลบึงคำพร้อย [1]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2504 จัดตั้งสุขาภิบาลลำไทร ในท้องที่บางส่วนของตำบลลำไทร [2]
- วันที่ 14 ตุลาคม 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำลูกกา โดยครอบคลุมขยายออกไปในบางหมู่บ้านของตำบลลำลูกกา และ ตำบลบึงคำพร้อย [3]
- วันที่ 28 เมษายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลคูคต ในท้องที่บางส่วนของตำบลคูคต [4]
- วันที่ 10 สิงหาคม 2532 ตั้งตำบลพืชอุดม แยกออกจากตำบลลำไทร [5]
- วันที่ 5 พฤษภาคม 2539 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคูคต เป็น เทศบาลเมืองคูคต [6]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลลำลูกกา และ สุขาภิบาลลำไทร เป็น เทศบาลตำบลลำลูกกา และ เทศบาลตำบลลำไทร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
พื้นที่อำเภอลำลูกกาแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 8 ตำบล (tambon)
ลำดับที่ | ตำบล | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2561) [7] |
ประชากรในเขตเทศบาล (พ.ศ. 2561) [7] |
|
---|---|---|---|---|---|
1. | คูคต (Khu Khot) |
18 | 110,750 | 45,009 65,741 |
(ทม. คูคต) (ทม. ลำสามแก้ว) |
2. | ลาดสวาย (Lat Sawai) |
11 | 64,484 | 64,484 | (ทม. ลาดสวาย) |
3. | บึงคำพร้อย (Bueng Kham Phroi) |
19 | 42,559 | 10,961 30,238 |
(ทต. ลำลูกกา) (อบต. บึงคำพร้อย) |
4. | ลำลูกกา (Lam Luk Ka) |
21 | 29,024 | 6,731 22,293 |
(ทต. ลำลูกกา) (อบต. ลำลูกกา) |
5. | บึงทองหลาง (Bueng Thonglang) |
22 | 10,756 | 10,756 | (อบต. บึงทองหลาง) |
6. | ลำไทร (Lam Sai) |
14 | 8,702 | 2,696 6,006 |
(ทต. ลำไทร) (อบต. ลำไทร) |
7. | บึงคอไห (Bueng Kho Hai) |
12 | 7,637 | 7,637 | (อบต. บึงคอไห) |
8. | พืชอุดม (Phuet Udom) |
9 | 3,957 | 3,957 | (อบต. พืชอุดม) |
รวม | 126 | 277,869 | 277,869 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
อำเภอลำลูกกาประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองคูคต ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 4 – 5, 8 – 11, 13 – 18 ตำบลคูคต บางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7 และ 12 ตำบลคูคต
- เทศบาลเมืองลำสามแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 1 – 2 ตำบลคูคต บางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7 และ 12 ตำบลคูคต (นอกเขตเทศบาลเมืองคูคต)
- เทศบาลเมืองลาดสวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดสวายทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 2, 9 ตำบลลำไทร บางส่วนของหมู่ที่ 1, 3 – 7 และ 10 – 11 ตำบลลำไทร
- เทศบาลตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 15 – 16 ตำบลบึงคำพร้อย บางส่วนของหมู่ที่ 4 – 6, 17 และ 19 ตำบลบึงคำพร้อย และพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 11, 18, 20 – 21 ตำบลลำลูกกา บางส่วนของหมู่ที่ 5, 10, 12 และ 18 – 19 ตำบลลำลูกกา
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 1 – 3, 7 – 14, 18 ตำบลบึงคำพร้อย บางส่วนของหมู่ที่ 4 – 6, 17 และ 19 ตำบลบึงคำพร้อย (นอกเขตเทศบาลตำบลลำลูกกา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดหมู่ที่ 1 – 4, 6 – 9, 13 – 17 ตำบลลำลูกกา บางส่วนของหมู่ที่ 5, 10, 12 และ 18 – 19 ตำบลลำลูกกา (นอกเขตเทศบาลตำบลลำลูกกา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงทองหลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดหมู่ที่ 8, 12 – 14 ตำบลลำไทร บางส่วนของหมู่ที่ 1, 3 – 7 และ 10 – 11 ตำบลลำไทร (นอกเขตเทศบาลตำบลลำไทร)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคอไหทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพืชอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพืชอุดมทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
เส้นทางสายหลักของอำเภอลำลูกกา ได้แก่
- ถนนลำลูกกา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312)
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)
- ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1)
- ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31)
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต – คูคต (กำลังก่อสร้าง)
เส้นทางสายรองของอำเภอลำลูกกา ได้แก่
- ถนนนิมิตใหม่
- ถนนหทัยราษฏร์
- ถนนลำลูกกา-ธัญบุรี (คลอง 7) (ทางหลวงชนบท ปท.3004)
- ถนนอบจ.ปท.2006
- ถนนไสวประชาราษฏร์ (พระองค์เจ้าสาย)