Category Archives: ตำบลบึง
ตำบลบึง
ตำบลบึง is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
ตำบลบึง เป็นตำบลหนึ่งใน 8 ตำบล ของอำเภอศรีราชา
อำเภอศรีราชา เป็นอำเภอขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอศรีราชาตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย พื้นที่ส่วนใหญ่มีภูเขาล้อมรอบและเป็นที่ลาดเนิน ที่ว่าการอำเภอศรีราชาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ตำบลศรีราชา ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรี 24 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 105 กิโลเมตร พื้นที่ในการปกครองของอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองชลบุรีและอำเภอบ้านบึง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองใหญ่ และอำเภอปลวกแดง (จังหวัดระยอง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางละมุง
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทยและเขตอำเภอเกาะสีชัง
สภาพพื้นที่[แก้]
อำเภอศรีราชามีเนื้อที่ประมาณ 643.558 ตารางกิโลเมตร (402,223.75 ไร่) พื้นที่การเกษตร 236,542.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.878 ของพื้นที่ทั้งหมด ระยะทางห่างจากเมืองชลบุรีโดยรถยนต์ 24 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนินเขาเล็ก ๆ กระจายทั่วไป พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร และอุตสาหกรรมมีที่ราบลุ่มทำนาได้บางส่วน ทิศตะวันตกติดชายฝั่งทะเล และไม่มีแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน จะมีเฉพาะทางน้ำไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอศรีราชาแบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ออกเป็น 8 ตำบล 73 หมู่บ้าน
1. | ศรีราชา | (Si Racha) | – | 5. | หนองขาม | (Nong Kham) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
2. | สุรศักดิ์ | (Surasak) | 10 หมู่บ้าน | 6. | เขาคันทรง | (Khao Khansong) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
3. | ทุ่งสุขลา | (Thung Sukhla) | 12 หมู่บ้าน | 7. | บางพระ | (Bang Phra) | 12 หมู่บ้าน | |||||||
4. | บึง | (Bueng) | 10 หมู่บ้าน | 8. | บ่อวิน | (Bo Win) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอศรีราชาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครแหลมฉบัง ครอบคลุมพื้นที่ หมูที่ 3 (บางส่วน), 9 (บางส่วน) ตำบลสุรศักดิ์ ตำบลทุ่งสุขลาทั้งตำบล หมู่ที่ 1 (บางส่วน), 5 (บางส่วน), 9 (บางส่วน), 10 ตำบลบึง และหมู่ที่ 11 (บางส่วน) ตำบลหนองขาม รวมไปถึงหมู่ที่ 4, 6, 7, 8 และ 9 ตำบลบางละมุงในเขตอำเภอบางละมุง
- เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-2,3 (บางส่วน), 4-8, 9 (บางส่วน) และ 10 ตำบลสุรศักดิ์ หมู่ที่ 1 (บางส่วน), 2 – 4, 5 (บางส่วน), 6 – 8, 9 (บางส่วน) ตำบลบึง หมู่ที่ 1 – 5, 9 – 10, 11 (บางส่วน) ตำบลหนองขาม หมู่ที่ 1 – 3, 6, 10 (บางส่วน) ตำบลเขาคันทรง และหมู่ที่ 1 – 2, 3 (บางส่วน), 5, 6 (บางส่วน), 8 ตำบลบ่อวิน
- เทศบาลเมืองศรีราชา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีราชาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1, 2 (บางส่วน), 3, 4 (บางส่วน), 6 (บางส่วน), 9 (บางส่วน), 10 (บางส่วน) ตำบลบางพระ
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 6 – 8, 11 (บางส่วน) ตำบลหนองขาม (นอกเขตเทศบาลนครแหลมฉบังและเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4 – 5, 7 – 9, 10 (บางส่วน) ตำบลเขาคันทรง (นอกเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2 (บางส่วน), 4 (บางส่วน), 5, 6 (บางส่วน), 7 – 8, 9 (บางส่วน), 10 (บางส่วน), 11 ตำบลบางพระ (นอกเขตเทศบาลตำบลบางพระ), 12
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 3 (บางส่วน), 4, 6 (บางส่วน), 7 ตำบลบ่อวิน (นอกเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์)
ประชากร[แก้]
อำเภอศรีราชามีประชากรจำนวนรวมทั้งสิ้น 2 แสนคน ปัจจุบันเป็นเขตกึ่งเกษตรกรรมและกึ่งอุตสาหกรรม ซึ่งมีแนวโน้มอุตสาหกรรมจะก้าวนำการเกษตร เนื่องจากการพัฒนาตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก มีท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นต้น
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
8 มีนาคม พ.ศ. 2535 เรือบรรทุกน้ำมัน ของบริษัท บีพีพี จำกัด กัปตันเรือได้แก่ นาย ปรีชา เพชรชู ชนเข้ากับ เรือผู้โดยสารสองชั้น กัปตันเรือได้แก่ นาย ประยูร ย๊ะกบ มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 119 ราย เป็นอุบัติเหตุทางน้ำที่ร้ายแรงมากที่สุดของประเทศไทย โดยมีผู้รอดชีวิต 15 ราย
2 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โรงกลั่นน้ำมัน ของ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เกิดเหตุไฟไหม้และระเบิดขึ้น มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 5 ราย[1]
การคมนาคม[แก้]
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมในตำบลและหมู่บ้าน มีรายละเอียด ดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายกรุงเทพมหานคร-หาดเล็ก (ถนนสุขุมวิท)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 สายฉะเชิงเทรา-สัตหีบ
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-พัทยา
- ทางหลวงชนบทจำนวน 24 สาย สำหรับเชื่อมระหว่างตำบลและหมู่บ้าน มีสภาพเป็นถนนลูกรัง 13 สาย
- รถไฟสายกรุงเทพฯ–สัตหีบ (พลูตาหลวง) เชื่อมต่อลงไปยังท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งสินค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
- สวนเสือศรีราชา
- เกาะลอย
- น้ำตกชันตาเถร
- อ่างเก็บน้ำบางพระ