Category Archives: ตำบล เสม็ดใต้
ตำบล เสม็ดใต้
ตำบล เสม็ดใต้ Places to Present is the position for activity in post to be presented at 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
ตำบล เสม็ดใต้ เป็นตำบลหนึ่งใน 9 ตำบล ของอำเภอ บางคล้า
อำเภอ บางคล้า เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 2 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบางคล้ามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านสร้าง (จังหวัดปราจีนบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอราชสาส์นและอำเภอแปลงยาว
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแปลงยาวและอำเภอบ้านโพธิ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทราและอำเภอคลองเขื่อน
ประวัติ[แก้]
อำเภอบางคล้าเป็นอำเภอใหญ่อำเภอหนึ่ง เดิมแบ่งเขตการปกครองเป็นสองอำเภอ คือ อำเภอหัวไทรและอำเภอบางคล้า จนถึงปี พ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกราบบังคมทูลให้มีพระบรมราชโองการยุบอำเภอหัวไทรลง อำเภอบางคล้าเดิมตั้งอยู่ที่วัดใหม่บางคล้า ตำบลบางสวนในปัจจุบัน ต่อมาทางราชการเห็นว่าที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่อยู่ในบริเวณศูนย์กลาง จึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลเตาสุราซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน
- วันที่ 14 มีนาคม 2480 ยกฐานะท้องที่บางส่วนของตำบลบางคล้า จัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลบางคล้า[1]
- วันที่ 13 พฤศจิกายน 2488 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลบางคล้า ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล[2] โดยเพิ่มพื้นที่ให้ครอบคลุมตำบลบางคล้าทั้งตำบล
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลบางเล่า แยกออกจากตำบลบางตลาด ตั้งตำบลสาวชะโงก แยกออกจากตำบลบางสวน ตั้งตำบลเสม็ดเหนือ แยกออกจากตำบลเสม็ด (ตำบลเสม็ดใต้ในปัจจุบัน)[3]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลปากน้ำ ไปตั้งเป็นหมู่ 10 ของตำบลบางคล้า (เพิ่มเข้าไปในพื้นที่เทศบาลตำบลบางคล้า)[4]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก[5]
- วันที่ 4 พฤษภาคม 2508 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก และจัดตั้งสุขาภิบาลสาวชะโงก ในท้องที่ตำบลสาวชะโงกทั้งตำบล บางส่วนของตำบลบางสวน และบางส่วนของตำบลเสม็ดเหนือ[6]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลแปลงยาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลแปลงยาว และตำบลวังเย็น[7]
- วันที่ 29 พฤษภาคม 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากน้ำ[8]
- วันที่ 21 กันยายน 2519 ยุบสุขาภิบาลสาวชะโงก[9] เนื่องจากไม่สามารถบริหารกิจการของสุขาภิบาลให้เจริญก้าวหน้าได้ และประชาชนในเขตสุขาภิบาลไม่ต้องการให้ท้องถิ่นนี้เป็นการปกครองรูปสุขาภิบาล
- วันที่ 16 มกราคม 2521 แยกพื้นที่ตำบลแปลงยาว ตำบลวังเย็น และตำบลหัวสำโรง อำเภอบางคล้า มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแปลงยาว ขึ้นกับอำเภอบางคล้า
- วันที่ 21 เมษายน 2524 ตั้งตำบลหนองไม้แก่น แยกออกจากตำบลวังเย็น[10]
- วันที่ 15 มีนาคม 2528 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอแปลงยาว อำเภอบางคล้า เป็น อำเภอแปลงยาว[11]
- วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลก้อนแก้ว ตำบลคลองเขื่อน ตำบลบางเล่า ตำบลบางโรง และตำบลบางตลาด อำเภอบางคล้า มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอคลองเขื่อน ขึ้นกับอำเภอบางคล้า[12]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากน้ำ เป็นเทศบาลตำบลปากน้ำ
- วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ รวมกับเทศบาลตำบลปากน้ำ[13]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอคลองเขื่อน อำเภอบางคล้า เป็น อำเภอคลองเขื่อน[14]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางคล้าแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางคล้า | (Bang Khla) | 6. | สาวชะโงก | (Sao Cha-ngok) | ||||||||
2. | บางสวน | (Bang Suan) | 7. | เสม็ดเหนือ | (Samet Nuea) | ||||||||
3. | บางกระเจ็ด | (Bang Krachet) | 8. | เสม็ดใต้ | (Samet Tai) | ||||||||
4. | ปากน้ำ | (Pak Nam) | 9. | หัวไทร | (Hua Sai) | ||||||||
5. | ท่าทองหลาง | (Tha Thonglang) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางคล้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางคล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคล้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปากน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระเจ็ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าทองหลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาวชะโงกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสม็ดเหนือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสม็ดใต้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวไทรทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ[แก้]
โรงงานสุรา กรมสรรพสามิต[แก้]
โรงงานสุรา กรมสรรพสามิต ตั้งอยู่ที่อำเภอบางคล้า มีเนื้อที่ประมาณ 164 ไร่ มีกำลังการผลิตประมาณ 40,000 ลิตรต่อวัน เดิมเป็นโรงงานผลิตสุราขาวหนึ่งในจำนวน 12 โรง ของกลุ่มสุราทิพย์ (มหาชน) จำกัด ซึ่งได้สร้างไว้ตามเงื่อนไขของการได้รับสัมปทาน ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การสุรา กรมสรรพสามิต
|
- ↑ [1]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พุทธศักราช ๒๔๘๐
- ↑ [2]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พุทธศักราช ๒๔๘๘
- ↑ [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่างๆ
- ↑ [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในเขตเทศบาล ในท้องที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแปลงยาว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ↑ [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ↑ [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ↑ [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอแปลงยาว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ↑ [11]พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาสวนกวาง อำเภอแปลงยาว อำเภอบ่อทอง อำเภอปะคำ และอำเภอบ้านฉาง พ.ศ. ๒๕๒๘
- ↑ [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคลองเขื่อน
- ↑ [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล
- ↑ [14]พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐
นวศรี แผ่นใสสีขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย นวศรี แผ่นใสสีข […]