Category Archives: ตำบลพนัสนิคม

ตำบลพนัสนิคม

ตำบลพนัสนิคม is the position for activity in post to presented  1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.

ตำบลพนัสนิคม เป็นตำบลหนึ่งใน 20 ตำบล ของอำเภอพนัสนิคม

อำเภอพนัสนิคม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดชลบุรี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา อดีตมีสถานะเป็นเมืองชื่อเมืองพนัสนิคม ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ต่อมารวมเมืองพนัสนิคมและเมืองบางละมุงขึ้นกับเมืองชลบุรี เป็นจังหวัดชลบุรี สังกัดมณฑลปราจีน ในปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดชลบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอพนัสนิคมตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดชลบุรี ห่างจากตัวจังหวัดไปทางตะวันออกประมาณ 22 กิโลเมตรตามเส้นทางถนนศุขประยูร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

อนึ่งอาณาเขตเมืองพนัสนิคมเดิมนั้น มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภออื่นๆในปัจจุบันของจังหวัดชลบุรี ดังนี้

  • บ้านท่าตะกูด เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม ก่อนจัดตั้งเป็นอำเภอท่าตะกูด และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอพานทอง
  • ตำบลคลองพลู เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม ก่อนที่จะโอนมาขึ้นกับอำเภอบ้านบึงเมื่อ พ.ศ. 2418 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอหนองใหญ่
  • ตำบลบ่อทอง เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอบ่อทอง เมื่อ พ.ศ. 2528
  • ตำบลเกาะจันทร์ และตำบลท่าบุญมี เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเกาะจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2550

ช่วงชุมชนเก่าสุดที่พบในพนัสนิคม อยู่บ้านโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม มีอายุราว 3,000 ปี โดยนักโบราณคดีขุดพบโครงกระดูกเจ้าแม่ (หมอผี, หัวหน้าเผ่า) มีลูกปัดนับแสนเม็ดฝังรวมอยู่

ช่วงเมืองเก่าสมัยทวารวดี มีอายุราว 1,500 ปี อยู่ในตำบลหน้าพระธาตุ ต่อมาเรียกสมัยหลังว่าเมืองพระรถ (ชื่อสมมุติจากรถเสนฃาดกในปัญญาสชาดก เป็นที่แพร่หลายในชาวลาว) อายุอยู่ในราวหลัง พ.ศ. 1000 เมืองโบราณยุคทวารวดีที่พนัสนิคมนี้ได้ลดความสำคัญลงและในที่สุดรกร้างไปราวหลัง พ.ศ. 1500 เพราะเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนไป แล้วมีบ้านเมืองแห่งใหม่ใกล้ทะเลเติบโตมีความสำคัญแทนที่

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม

ช่วงเมืองพนัสนิคม โดยกำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2371 และพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม(บางเอกสารเขียน“พนัศนิคม”) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทสาร(บางเอกสารเขียน”อินทพิศาล”) ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย(บางเอกสารเขียน”ศรีวิไชย”) อุปราชเมืองนครพนมและเป็นโอรสในพระบรมราชา(ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน“อินทรอาษา, อินทอาสา“) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180) ลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม การอพยพครั้งแรกนำโดยท้าวศรีวิไชย อุปราชเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราฃา(ท้าวกู่แก้ว)เจ้าเมืองนครพนม ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน ลาวนครพนมกลุ่มนี้จึงได้ไปอยู่เมืองพนัสนิคมในเวลาต่อมา

ใน พ.ศ. 2372 พระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม ได้ไปเกลี้ยกล่อมครอบครัวลาวเมืองนครพนมมาอยู่ที่เมืองพนัสนิคมอีกจำนวนหนึ่ง

ใน พ.ศ. 2391 พระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม คุมลาวเมืองพนัสนิคมยกไปทางบกปราบกบฏจีนตั้วเหี่ย เมืองฉะเชิงเทรา มีพรรณนาไว้ในพระราชพงศาวดารฯ เรื่องเจ้าพระยาพระคลังกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาปราบจีนตั้วเหี่ย เมืองฉะเชิงเทรา

ใน พ.ศ. 2394 พระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม คุมลาวเมืองพนัสนิคมร่วมเป็นกองกำลังอารักขาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีพรรณนาในพระราชพงศาวดารฯ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย เมืองพนัสนิคมจึงเข้าอยู่ในมณฑลปราจีน ดังมีบันทึกว่า “รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1 เมืองนครนายก 1 เมืองพนมสารคาม 1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า มณฑลปราจีน ตั้งที่ว่าการมณฑล ณ เมืองปราจีน ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม ”

ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน โดยเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชลบุรี โดยอำเภอพนัสนิคมมีนายอำเภอพนัสนิคมคนแรกคือ หลวงสัจจพันธ์คีรี ศรีรัตนไพรวัน เจฏิยาสัน คามวาสี นพ-คูหาพนมโขลน นามเดิมว่า บัว ไม่ทราบนามสกุล

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอพนัสนิคมแบ่งออกเป็น 20 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้านรวม 185 หมู่บ้าน

1. ตำบลพนัสนิคม (Phanat Nikhom) 11. ตำบลท่าข้าม (Tha Kham)
2. ตำบลหน้าพระธาตุ (Na Phra That) 12. ตำบลหนองปรือ (Nong Prue)
3. ตำบลวัดหลวง (Wat Luang) 13. ตำบลหนองขยาด (Nong Khayat)
4. ตำบลบ้านเซิด (Ban Soet) 14. ตำบลทุ่งขวาง (Thung Khwang)
5. ตำบลนาเริก (Na Roek) 15. ตำบลหนองเหียง (Nong Hiang)
6. ตำบลหมอนนาง (Mon Nang) 16. ตำบลนาวังหิน (Na Wang Hin)
7. ตำบลสระสี่เหลี่ยม (Sa Si Liam) 17. ตำบลบ้านช้าง (Ban Chang)
8. ตำบลวัดโบสถ์ (Wat Bot) 18. ตำบลโคกเพลาะ (Khok Phlo)
9. ตำบลกุฎโง้ง (Kut Ngong) 19. ตำบลไร่หลักทอง (Rai Lak Thong)
10. ตำบลหัวถนน (Hua Thanon) 20. ตำบลนามะตูม (Na Matum)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอพนัสนิคมประกอบด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองพนัสนิคม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพนัสนิคมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหมอนนาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมอนนางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกุฎโง้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุฎโง้งทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหัวถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวถนนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหน้าพระธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหน้าพระธาตุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเซิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเซิดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเริก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเริกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระสี่เหลี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระสี่เหลี่ยมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองปรือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขยาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขยาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งขวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหียงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาวังหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาวังหินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเพลาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเพลาะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไร่หลักทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่หลักทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนามะตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนามะตูมทั้งตำบล

พระพุทธรูปประจำเมือง[แก้]

หอพระพนัสบดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

พระพนัสบดี

ประเพณีท้องถิ่น[แก้]

สถานที่สำคัญ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และแหล่งโบราณคดี[แก้]

สถานศึกษา[แก้]