Category Archives: อำเภอบางละมุง
อำเภอบางละมุง
อำเภอบางละมุง is the position for activity in post to presented 1st rank on Google page search by focus keyphrase name in category.
อำเภอบางละมุง คืออำเภอหนึ่งในจังหวัดชลบุรี มีพื้นที่รวมประมาณ 727 ตารางกิโลเมตร หรือ 469,021 ไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จะมีศาสนาอื่นบ้างเป็นกลุ่มย่อย
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบางละมุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ห่างจากอำเภอเมืองชลบุรีไปทางใต้ประมาณ 45 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ 142 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีราชา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปลวกแดง อำเภอนิคมพัฒนา และอำเภอบ้านฉาง (จังหวัดระยอง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสัตหีบ
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย
ประวัติ[แก้]
อำเภอบางละมุงแต่เดิมมีฐานะเป็นเมืองบางละมุง ตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุง ตำบลบางละมุง จนถึงปี พ.ศ. 2444 ได้ยุบเมืองบางละมุงเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชลบุรี โดยมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณริมคลองนกยาง ซึ่งขณะนั้นบริเวณดังกล่าวเป็นท่าน้ำที่สำคัญทั้งทางด้านการคมนาคมและเป็นที่ชุมนุมของเรือสินค้าต่าง ๆ ต่อมาคลองนกยางตื้นเขินไม่สะดวกต่อเรือสินค้าต่าง ๆ จะล่องเข้าออก ทั้งสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะขยายชุมชนให้กว้างขวาง นายอำเภอสมัยนั้น คือ นายเจิม (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสัตยานุกูล) จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ใหม่บริเวณริมทะเลในตำบลนาเกลือ เมื่อ พ.ศ. 2452
ในปี พ.ศ. 2480 ทางราชการได้แบ่งแยกพื้นที่ตำบลสัตหีบเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอบางละมุง จนถึงปี พ.ศ. 2496 จึงยกฐานะกิ่งอำเภอสัตหีบขึ้นเป็นอำเภอสัตหีบ แยกออกไปจากอำเภอบางละมุงโดยสมบูรณ์ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2495 เกิดวาตภัยร้ายแรง ตัวอาคารที่ว่าการอำเภอพังเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ จึงได้ย้ายไปตั้งที่ทำการชั่วคราวที่โรงเรียนบางละมุง ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท ต่อมา พ.ศ. 2496 ทางราชการได้อนุมัติเงินงบประมาณให้สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่บริเวณใกล้ ๆ กับโรงเรียนบางละมุง และได้ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติราชการจนทุกวันนี้
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางละมุงแบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 72 หมู่บ้าน
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2560)[1] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2560)[1] |
|
---|---|---|---|---|---|---|
1. | บางละมุง | Bang Lamung | 9 | 24,342 | 13,290 11,052 |
(ทน. แหลมฉบัง) (ทต. บางละมุง) |
2. | หนองปรือ | Nong Prue | 14 | 146,334 | 67,076 79,258 |
(เมืองพัทยา) (ทม. หนองปรือ) |
3. | หนองปลาไหล | Nong Pla Lai | 9 | 21,603 | 2,265 734 18,604 |
(เมืองพัทยา) (ทต. บางละมุง) (ทต. หนองปลาไหล) |
4. | โป่ง | Pong | 10 | 9,689 | 9,689 | (ทต. โป่ง) |
5. | เขาไม้แก้ว | Khao Mai Kaeo | 5 | 6,701 | 6,701 | (ทต. เขาไม้แก้ว) |
6. | ห้วยใหญ่ | Huai Yai | 13 | 28,854 | 165 28,689 |
(เมืองพัทยา) (ทต. ห้วยใหญ่) |
7. | ตะเคียนเตี้ย | Takhian Tia | 5 | 21,767 | 21,671 96 |
(ทต. ตะเคียนเตี้ย) (ทต. บางละมุง) |
8. | นาเกลือ | Na Kluea | 7 | 49,005 | 49,005 | (เมืองพัทยา) |
รวม | 72 | 308,295 | 118,511 (เมืองพัทยา) 13,290 (ทน.) 79,258 (ทม.) 97,236 (ทต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางละมุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เมืองพัทยา ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2 (บางส่วน), 3 (บางส่วน), 11 (บางส่วน), 12 (บางส่วน) ตำบลหนองปรือ หมู่ที่ 6 (บางส่วน), 7, 8 ตำบลหนองปลาไหล หมู่ที่ 4 (บางส่วน) ตำบลห้วยใหญ่ และตำบลนาเกลือ[2]ทั้งตำบล
- เทศบาลนครแหลมฉบัง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4 (บางส่วน), 6-9 ของตำบลบางละมุง (รวมไปถึงพื้นที่บางส่วนของตำบลสุรศักดิ์ ตำบลทุ่งสุขลาทั้งตำบล บางส่วนของตำบลบึง บางส่วนของตำบลหนองขามของอำเภอศรีราชาด้วย)
- เทศบาลเมืองหนองปรือ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1, 2 (บางส่วน), 3 (บางส่วน), 4-10, 11 (บางส่วน), 12 (บางส่วน) ตำบลหนองปรือ (นอกเขตเมืองพัทยา)
- เทศบาลตำบลบางละมุง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-3, 4 (บางส่วน), 5 ตำบลบางละมุง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง) หมู่ที่ 6 (บางส่วน) ตำบลหนองปลาไหล (เฉพาะนอกเขตเมืองพัทยาและเทศบาลตำบลหนองปลาไหล) และหมู่ที่ 2 ตำบลตะเคียนเตี้ย
- เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-3, 4 (บางส่วน), 5-13 ตำบลห้วยใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเมืองพัทยา)[3][4]
- เทศบาลตำบลโป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะเคียนเตี้ย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางละมุง)
- เทศบาลตำบลหนองปลาไหล ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1-5, 6 (บางส่วน), 7-9 ตำบลหนองปลาไหล (เฉพาะนอกเขตเมืองพัทยาและเทศบาลตำบลบางละมุง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาไม้แก้วทั้งตำบล
เศรษฐกิจ[แก้]
- อาชีพหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเกษตร การประมง
- อาชีพเสริม ได้แก่ บริการนักท่องเที่ยวทุกประเภท ค้าขาย
- จำนวนธนาคาร มี 34 แห่ง
- จำนวนห้างสรรพสินค้า มี 15 แห่ง
สถานศึกษา[แก้]
- โรงเรียนมัธยม ได้แก่ โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร, โรงเรียนบางละมุง, โรงเรียนมารีวิทย์พัทยา,โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
- วิทยาลัย ได้ วิทยาลัยเทคนิคพัทยา (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง)
- มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเอเชียน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา
ประชากร[แก้]
- จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 238,625 คน
- จำนวนประชากรชาย รวม 112,305 คน
- จำนวนประชากรหญิง รวม 126,320 คน
- ความหนาแน่นของประชากร 100 คน/ตร.กม.
ศาสนสถาน[แก้]
- วัด
- พระอารามหลวง 1 แห่ง
- วัดราษฎร์ 46 แห่ง
- โบสถ์ 4 แห่ง
- มัสยิด 8 แห่ง
- อื่น ๆ 1 แห่ง
การคมนาคม[แก้]
- ทางบก
- รถยนต์ : ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3, 7, 36, 331
- สถานีขนส่ง : ขนส่งรุ่งเรืองทัวร์, ขนส่งนครชัยแอร์, ศรีมงคลขนส่ง. 407 พัฒนา, ชาญทัวร์
- สถานีรถไฟ : สถานีรถไฟบางละมุง, สถานีรถไฟพัทยา, ป้ายหยุดรถพัทยาใต้, ป้ายหยุดรถตลาดน้ำสี่ภาค, สถานีรถไฟบ้านห้วยขวาง
- ทางน้ำ
- ท่าเรือขนส่งโดยสาร : ท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย
- ท่าแพขนานยนต์ : –
- ทางอากาศ
- ท่าอากาศยาน : –