Category Archives: ตำบลบ้านใหม่
ตำบลบ้านใหม่
ตำบลบ้านใหม่ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอ ปากเกร็ด เป็นอำเภอที่มีตำบลมากที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ที่ตั้งมีแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่านตัวอำเภอ สภาพพื้นที่ทางฝั่งตะวันตก
ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ต่าง ๆ ไร่นา ท้องทุ่ง ปศุสัตว์ ดังเช่นในชนบท ส่วนทางฝั่งตะวันออกมีที่พักอาศัย อุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และยังเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางของประเทศ ในอดีตอำเภอปากเกร็ดเคยขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ช่วงหนึ่ง และบางตำบลเคยอยู่ในอำเภอบางบัวทอง
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอปากเกร็ดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศเหนือ 7.45 กิโลเมตร[2] มีพื้นที่การปกครองทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดหลุมแก้วและอำเภอเมืองปทุมธานี (จังหวัดปทุมธานี) มีคลองสามวา คลองเจ๊ก คลองตรง (คลองขุด) คลองพระอุดม แนวระวางโฉนดที่ดินระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดปทุมธานี คลองบางตะไนย์ แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบ้านใหม่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดอนเมืองและเขตหลักสี่ (กรุงเทพมหานคร) มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรี มีคลองบางตลาด แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองวัดแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอบางบัวทอง มีคลองแม่ร่องกร่าง คลองบางบัวทอง คลองขุนมหาดไทย (ท่าลาย) แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์การ์เด้นบางบัวทอง แนวกำแพงหมู่บ้านดิเอมเมอรัลด์พาร์ค 3 แนวกำแพงหมู่บ้านลภาวัน 10 คลองชลประทานพระอุดม-บางบัวทอง (คลองแอน) แนวระวางโฉนดที่ดินระหว่างอำเภอปากเกร็ดกับอำเภอบางบัวทอง คลองลำโพ และคลองลากค้อนเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]
“ปากเกร็ด” เป็นคำประสมจากคำว่า “ปาก” ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเนื่องมาจากชื่อวัดปากอ่าว และคำว่า “เกร็ด” ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ว่า “ห้วงน้ำแคบต่อจากห้วงน้ำใหญ่ทั้งสอง” ดังนั้น คำว่าปากเกร็ดจึงน่าจะหมายถึง “บริเวณผืนแผ่นดินที่เป็นปากอ่าว มีอาณาเขตติดต่อกับแม่น้ำใหญ่”[3]
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง “ปากเกร็ด” อาจมีที่มาจากคลองที่ขุดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเพื่อลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตรงช่วงที่เริ่มไหลวกเข้าไปในคุ้งบางบัวทอง โดยในอดีตผู้คนจะเรียกคลองนี้ว่า “คลองเตร็ดน้อย”[4] และต่อมาเรียกว่า “คลองลัดเกร็ด” (หรือ “แม่น้ำลัดเกร็ด” ซึ่งทำให้เกิดเกาะเกร็ดขึ้นนั่นเอง) ส่วนบริเวณต้นคลองลัดนั้นก็เรียกว่า “ปากเกร็ด”[5]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอปากเกร็ดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้าน รวม 85 หมู่บ้าน (หรือ 51 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่
1. | ปากเกร็ด | (Pak Kret) | 5 หมู่บ้าน | 7. | ท่าอิฐ | (Tha It) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||||
2. | บางตลาด | (Bang Talat) | 10 หมู่บ้าน | 8. | เกาะเกร็ด | (Ko Kret) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||||
3. | บ้านใหม่ | (Ban Mai) | 6 หมู่บ้าน | 9. | อ้อมเกร็ด | (Om Kret) | 6 หมู่บ้าน | |||||||||||||
4. | บางพูด | (Bang Phut) | 9 หมู่บ้าน | 10. | คลองข่อย | (Khlong Khoi) | 12 หมู่บ้าน | |||||||||||||
5. | บางตะไนย์ | (Bang Tanai) | 5 หมู่บ้าน | 11. | บางพลับ | (Bang Phlap) | 5 หมู่บ้าน | |||||||||||||
6. | คลองพระอุดม | (Khlong Phra Udom) | 6 หมู่บ้าน | 12. | คลองเกลือ | (Khlong Kluea) | 4 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอปากเกร็ดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครปากเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปากเกร็ดฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ยกเว้นเกาะเกร็ด) ได้แก่ ตำบลปากเกร็ด ตำบลบางตลาด ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางพูด และตำบลคลองเกลือทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางพลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลับทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะไนย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางตะไนย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองพระอุดมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอิฐทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมเกร็ดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองข่อยทั้งตำบล