Category Archives: แขวงมีนบุรี
แขวงมีนบุรี
แขวงมีนบุรี เป็นแขวงๆหนึ่งใน 2 แขวงของ เขตมีนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองและลำรางไหลผ่านหลายสาย ในอดีตเป็นเรือกสวนไร่นา บ่อปลา นาบัว และไร่หญ้า แต่ปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่น หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการทั้งเล็กและขนาดใหญ่
แพนเนล พียู โฟม (Panel PU Foam)
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตมีนบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) ลำรางคูคต ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ถนนหทัยราษฎร์ ลำรางโต๊ะสุข คลองเจ๊ก ลำรางสามวา คลองสามวา ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) คลองลำบึงไผ่ และคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีลำรางข้างซอยราษฎร์อุทิศ 70 คลองแยกคลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำต้นไทร และคลองลำนกแขวกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง มีคลองบึงใหญ่ ลำรางตาทรัพย์ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า คลองตาเสือ ลำรางศาลเจ้า ลำรางคอวัง คลองสองต้นนุ่น และคลองลำนายโสเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตสะพานสูงและเขตคันนายาว มีคลองลาดบัวขาว คลองแสนแสบ และคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
คำว่า มีนบุรี แปลว่า “เมืองปลา” เป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2445[3] โดยรวมอำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก) เข้าไว้ในเขตการปกครองของเมือง เหตุที่ใช้ชื่อว่าเมืองปลาเนื่องจากตำบลแสนแสบเป็นบริเวณที่มีบ่อปลามาก และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเมืองธัญญบุรีที่แปลว่า “เมืองข้าว”[3]
ประวัติ[แก้]
เขตมีนบุรีในอดีตเป็นท้องที่หนึ่งของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งทางทิศตะวันออกของมณฑลกรุงเทพ ต่อมาใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่อำเภอคลองสามวากับอำเภอข้างเคียงอีก 3 อำเภอตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่และพระราชทานนามว่า “เมืองมีนบุรี“[4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) แห่งนี้
ต่อมาใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ[5] เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งสุขาภิบาลมีนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2498[6] ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้ แยกจากตำบลทรายกองดินใน พ.ศ. 2505[7] และขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[8] ในปีถัดมา
อำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี หลังจากการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง และในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา[9] ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตมีนบุรีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนร่มเกล้าฟากตะวันออกและคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่ง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
มีนบุรี | Min Buri |
28.459
|
97,214
|
45,967
|
3,415.93
|
แสนแสบ | Saen Saep |
35.186
|
45,097
|
13,855
|
1,281.67
|
ทั้งหมด |
63.645
|
142,311
|
59,822
|
2,236.01
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตมีนบุรี[10] |
---|
ตราสัญลักษณ์ประจำเขต[แก้]
ตราสัญลักษณ์ประจำเขตมีนบุรี มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีปลาตะเพียนสีทองอยู่ตรงกลาง พื้นหลังด้านล่างเป็นพื้นน้ำสีฟ้า มีรวงข้าวสีเขียว สองข้างล้อมรอบด้วยคำว่า สำนักงานเขตมีนบุรี เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาไทย โดยสื่อความหมายถึงความเป็นเมืองปลา ตามความหมายของชื่อที่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองมีนบุรีในอดีต และปลาที่ขึ้นชื่อคือปลาตะเพียน[11]
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขต ได้แก่
- ถนนรามอินทรา เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตบางเขน โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและทางพิเศษฉลองรัชได้
- ถนนสีหบุรานุกิจ เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนร่มเกล้า
- ถนนเสรีไทย เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตบางกะปิ โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและถนนลาดพร้าวได้ (โดยถนนลาดพร้าวเชื่อมในสายทางเดียวกัน)
- ถนนรามคำแหง เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตสะพานสูง เขตบางกะปิ และเขตสวนหลวง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้
- ถนนร่มเกล้า เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนมอเตอร์เวย์ สถานีลาดกระบัง และท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้
- ถนนสุวินทวงศ์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตหนองจอก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ถนนนิมิตใหม่ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนลำลูกกาได้
- ถนนหทัยราษฎร์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยมีถนนสายไหมต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตสายไหม บริเวณรอยต่อเขตสายไหมกับอำเภอลำลูกกา
- ถนนประชาร่วมใจ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และเขตหนองจอก โดยมีถนนมิตรไมตรีต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตหนองจอก
- ถนนราษฎร์อุทิศ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตหนองจอก โดยมีถนนเลียบวารีต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตหนองจอก
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ถนนมีนพัฒนา เชื่อมถนนเสรีไทยเข้ากับถนนรามคำแหง
- ถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ (บึงกระเทียม) เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนเสรีไทย
- ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนสามวา เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนราษฎร์ร่วมใจ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนคุ้มเกล้า (วัดทองสัมฤทธิ์) เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนเจ้าคุณทหารและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้
- ถนนบึงขวาง เชื่อมถนนร่มเกล้าเข้ากับถนนสุวินทวงศ์
- ซอยรามอินทรา 117 (เจริญพัฒนา) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา โดยมีถนนเจริญพัฒนาต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตคลองสามวา
- ซอยร่มเกล้า 24 (การเคหะร่มเกล้า) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยมีถนนเคหะร่มเกล้าต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนราษฏร์พัฒนาในพื้นที่เขตสะพานสูงได้
- ซอยสุวินทวงศ์ 7 (บ้านเกาะ) และ ซอยราษฎร์อุทิศ 42 เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ
- ซอยสุวินทวงศ์ 13 (ชุมชนทองสงวน) เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ
การคมนาคมอื่น ๆ
ทางแยกในพื้นที่